ด้วยเทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังมาแรงในแวดวงธุรกิจ ทำให้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการในระดับใด ต่างก็ตระหนักถึงความสำคัญของแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน ภายใต้กรอบมาตรฐาน ISO 14000 ด้วยกันทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับธุรกิจ SME ที่มีงบประมาณอย่างจำกัด ย่อมเป็นสิ่งที่ท้าทายในการดำเนินงานหากต้องการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากลสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่สงสัยว่า แล้วมาตรฐาน ISO 14000 นั้นคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรในการนำมาปรับปรุงธุรกิจ บทความนี้มีคำตอบมาให้แล้ว
เข้าใจก่อน! มาตรฐาน ISO 14000 คืออะไร?
สำหรับองค์กรขนาดเล็กที่ยังไม่รู้ว่าระบบตามมาตรฐาน ISO 14000 คืออะไร รวมถึงมีข้อกำหนดอย่างไร ที่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพขององค์กรได้ เราจะมาอธิบายให้รู้กันมาตรฐาน ISO 14000 จัดเป็นหนึ่งในชุดมาตรฐานสากลที่ว่าด้วยระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) กำหนดโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการสร้างมาตรฐาน (International Organization for Standardization) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ขอบเขตการประเมินที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในขณะเดียวกันยังเป็นเกณฑ์การควบคุมมาตรฐานที่ตีกรอบให้องค์กร เกิดความตื่นตัวเพื่อปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานอยู่เสมอ
มาตรฐานย่อยใน ISO 14000 คืออะไร?
อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า แล้วมาตรฐานย่อยใน ISO 14000 คืออะไร โดยเราสามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า เป็นหมวดหมู่ของมาตรฐานและระเบียบที่ว่าด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งขึ้นตรงต่อการสร้างข้อกำหนดและแนวทางให้กับองค์กร เพื่อใช้ในการจัดทำระบบจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดผลกระทบได้อย่างยั่งยืน โดยมาตรฐานย่อยใน ISO 14000 สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ดังนี้
- มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Systems)
- ISO 14001 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยกำหนดข้อกำหนดและแนวทางสำหรับองค์กรในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ISO 14004 เป็นมาตรฐานแนวทางด้านหลักการและเทคนิคในการจัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ISO 14050 เป็นมาตรฐานคำศัพท์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ISO 14064 เป็นมาตรฐานการวัดและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม
- ISO 14065 เป็นมาตรฐานข้อกำหนดสำหรับหน่วยงานผู้ให้การรับรองการวัดและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม
- มาตรฐานการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Auditing)
- ISO 14010 เป็นมาตรฐานหลักการทั่วไปของการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม
- ISO 14011 เป็นมาตรฐานวิธีการตรวจประเมินระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
- ISO 14012 เป็นมาตรฐานข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน
- มาตรฐานอื่น ๆ (Other Standards)
- ISO 14020 เป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับการติดฉลากสิ่งแวดล้อม
- ISO 14021 เป็นมาตรฐานการติดฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทฉลากสิ่งแวดล้อมแบบประเภท (Type I)
- ISO 14024 เป็นมาตรฐานการติดฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทฉลากสิ่งแวดล้อมแบบรับรอง (Type III)
- ISO 14031 เป็นมาตรฐานหลักการทั่วไปของการวัดผลการปฏิบัติงานควบคุมมลพิษ
- ISO 14063 เป็นมาตรฐานคำแนะนำสำหรับการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม
- ISO 14067 เป็นมาตรฐานข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์คาร์บอนฟุตพรินต์
- ISO 14069 เป็นมาตรฐานข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์คาร์บอนฟุตพรินต์ระดับองค์กร
ประโยชน์ของการปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 14000
- ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากกระบวนการดำเนินงานขององค์กร
- เป็นการให้ความร่วมมือ พร้อมปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
- ปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างวัฒนธรรมการทำงานอย่างยั่งยืนตามหลักสากล
- สร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรและลูกค้าได้
ความท้าทายของธุรกิจขนาดเล็กกับการนำ ISO 14000 ไปปรับใช้
แต่จะเห็นได้ว่ามาตรฐาน ISO 14000 เป็นมาตรฐานจัดการสิ่งแวดล้อมระดับสากล ที่องค์กรใหญ่ ๆ มักนำไปปรับใช้มากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากมีความท้าทายมากมายที่ธุรกิจรายย่อยต้องเจอ เช่น
- ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทั้งในด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลา ซึ่งอาจทำให้การนำมาตรฐาน ISO 14000 ไปใช้เป็นเรื่องยากและใช้เวลานาน
- ความซับซ้อนของมาตรฐาน ISO 14001 เป็นมาตรฐานที่มีความซับซ้อนและครอบคลุม ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่คุ้นเคยและยากที่จะนำไปปฏิบัติ
- การขาดความรู้และความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม การขาดความเข้าใจว่าการรับรองมาตรฐาน ISO 14000 คืออะไร อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจได้ เพราะจะนำไปสู่การปรับใช้ได้อย่างล่าช้าหรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานของการรับรอง
แนวทางการนำ ISO 14000 ไปปรับใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก
- ประเมินสถานการณ์ ก่อนการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะของธุรกิจ กิจกรรมที่เป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรที่มีอยู่ เป็นต้น
- เลือกแนวทางที่เหมาะสม เพื่อที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งอาจพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความพร้อมของทรัพยากร งบประมาณ ระยะเวลา เป็นต้น
ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถใช้บริษัทภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในการนำ ISO 14000 มาปรับใช้ภายในองค์กร หรือเปิดรับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ ISO 14000 สำหรับธุรกิจขนาดเล็กคืออะไร?
หลังจากที่ได้เห็นแนวทางในข้างต้นไปแล้ว หากผู้ประกอบการบางรายยังรู้สึกไม่กระจ่าง และเกิดความสงสัยว่าทำไมจะต้องปรับตัวต่อการใช้แนวทางตามมาตรฐาน ISO 14000 รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับคืออะไร และสำคัญต่อธุรกิจขนาดเล็กแค่ไหน ด้านล่างนี้คือคำตอบ
- Go Green! การเปลี่ยนออฟฟิศให้กลายเป็น Paperless ด้วยมาตรฐานการควบคุมเอกสารตามข้อกำหนดของ ISO นอกจากจะช่วยลดการใช้กระดาษภายในที่ทำงานได้แล้ว ยังเป็นหนึ่งในแนวทางการปฏิบัติงานที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
- ช่วยลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งค่ากระดาษ ค่าไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง และต้นทุนด้านการกำจัดขยะและของเสีย
- เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เปลี่ยนแนวทางการทำงานออฟไลน์ ให้มาอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล ทั้งรวดเร็ว ปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานด้านเอกสารได้อย่างเห็นผล
- เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ให้ธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ภาพลักษณ์องค์กรดีขึ้น ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ร่วมลงทุน ซึ่งการปฏิบัติตาม ISO 14000 ถือเป็นการเปลี่ยนตามหลักสากลที่ใส่ใจในด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เป็นการปูทางสู่การขยายตัวขององค์กร สู่ระดับสากลในอนาคต
ยกระดับธุรกิจขนาดเล็กให้ตรงตามมาตรฐานสากล ด้วยโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยใน การควบคุมเอกสารตามมาตรฐาน ISO 14000 จาก WOLF ด้วยซอฟต์แวร์ระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน ISO เพื่อควบคุมการทำงานภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย ประหยัดเวลา ลดการใช้กระดาษ (Paperless) ภายใต้ Cloud Technology ของ Microsoft WOLF ISO ที่ผ่านการพิสูจน์จากบริษัทชั้นนำในประเทศไทย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ marketing@techconsbiz.com หรือ 02-634-4409