เจาะลึกการขอ ISO หัวใจสำคัญ สร้างมาตรฐานให้องค์กร

22 มีนาคม 2023
ความหมายและความสำคัญของการขอ ISO

ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบโรงงานอุตสาหกรรมหรือธุรกิจประเภทไหนก็ตาม มาตรฐานการทำงานถือเป็นหลักประกันสำคัญที่จะช่วยสร้างเครดิตให้กับองค์กร แต่จะมีอะไรมาการันตีมาตรฐานเหล่านี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและเหล่าพาร์ตเนอร์ได้บ้าง? หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างมาตรฐานให้กับธุรกิจของตัวเองการขอ ISO คือคำตอบ

ผู้ประกอบการต้องรู้ ความหมายและความสำคัญของการขอ ISO

ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศด้านมาตรฐาน ก่อตั้งขึ้นในปี 1947 และเป็นผู้ออกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจหรือองค์กรในระดับสากล โดยมาตรฐานที่ออกโดยองค์กรนี้ จะขึ้นต้นด้วย ISO และตามด้วยตัวเลข 4-5 หลัก ซึ่งมีความหมายและมาตรฐานที่แตกต่างกันไป

สำหรับมาตรฐาน ISO มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 หลังสงครามโลกจบลง โดยประเทศเยอรมนีเป็นผู้เริ่มต้นผลักดัน เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพให้กับสินค้าจากทั่วโลก ควบคู่ไปกับที่องค์กรมาตรฐานโลกได้มีการจัดตั้งระบบ ISO/TC176 และ 1 ปีถัดมา ประเทศอังกฤษก็เริ่มพัฒนาระบบคุณภาพที่ชื่อว่า BS5750 เพื่อมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จนกระทั่งในปี 1987 องค์กร ISO ก็เริ่มวางระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพด้วยการตรวจสอบผ่านเอกสาร หรืออนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 จนกลายเป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้กันในทุกประเทศทั่วโลก

นอกจากจะมีมาตรฐานคุณภาพที่หลากหลายแล้ว การขอ ISO ยังแบ่งประเภทสมาชิกออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • Member body สมาชิกสมบูรณ์ เป็นตัวแทนด้านมาตรฐานของประเทศ
  • Correspondent member สมาชิกโต้ตอบ เป็นหน่วยงานของประเทศที่ยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานเป็นการเฉพาะ
  • Subscriber member สมาชิกรับข่าวสาร เป็นหน่วยงานที่อยู่ในประเทศที่มีความเจริญด้านเศรษฐกิจต่ำ

ประโยชน์ของการขอ ISO

ข้อดีของการมีมาตรฐาน ISO นั้น ส่งผลให้องค์กรมีการบริหารจัดการและการผลิตที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้รับการยอมรับและได้รับความพึงพอใจจากลูกค้า มีภาพลักษณ์ที่ดี รวมทั้งการบริหารจัดการที่มีระบบ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้ในระยะยาว และสร้างวินัยในการทำงานที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรนั่นเอง

ส่วนในแง่ของผู้บริโภคนั้น การเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าจากองค์กรที่ได้มาตรฐาน ISO จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าหรือบริการได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลเรื่องมาตรฐาน รวมถึงยังได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย

ตอบข้อสงสัย มาตรฐาน ISO มีกี่ประเภท

มาตรฐาน ISO มีกี่ประเภท?

หากพูดถึงมาตรฐาน ISO หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อของ ISO ที่ตามด้วยตัวเลขหลากหลายตัว แล้วตัวเลขเหล่านั้นหมายถึงอะไร รวมถึงมาตรฐาน ISO แท้จริงแล้วมีกี่ประเภทกันแน่?

ในความเป็นจริงแล้ว มาตรฐานองค์กรที่ออกโดย ISO มีหลายสิบประเภท ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ได้ทั้งหมด 6 หมวดด้วยกัน ได้แก่

  • มาตรฐานคุณภาพระบบการบริหารงาน หรือ ISO 9000
  • มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม หรือ ISO 14000
  • มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ หรือ ISO 17025
  • มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ ISO 18000
  • มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร หรือ ISO 22000
  • มาตรฐานการจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ ISO 13485

และนี่คือตัวอย่างมาตรฐาน ISO ที่พบได้บ่อยในประเทศไทย

  • ISO 9000 มาตรฐานคุณภาพระบบการบริหารงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
    • กลุ่มมาตรฐานข้อกำหนดเพื่อขอการรับรอง คือ ISO 9001 ใช้กับองค์กรที่ออกแบบ ผลิต ติดตั้ง และบริการ, ISO 9002 ใช้กับองค์กรที่ผลิต ติดตั้ง และบริการ และ ISO 9003 ใช้กับองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบและทดสอบขั้นสุดท้ายก่อนส่งมอบถึงผู้บริโภค
    • กลุ่มมาตรฐานข้อแนะนำ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ISO 9000 และ ISO 9004
  • ISO 14000 มาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สร้างแนวทางจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและป้องกันมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งแนวทางป้องกันปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่อผู้ปฏิบัติงานและสังคม
  • ISO 27001 มาตรฐานหมวดระบบมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศ เพิ่มความแข็งแกร่งให้ระบบรักษาความปลอดภัย ลดความเสี่ยงข้อมูลถูกโจรกรรม

เอกสารและสิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับผู้ที่ต้องการขอ ISO

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขอ ISO แต่ยังไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นจากตรงไหน สามารถเตรียมตัวได้ง่าย ๆ ด้วย 3 ขั้นตอนนี้

1. เลือกมาตรฐาน ISO ที่เหมาะสมกับองค์กร

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ามาตรฐาน ISO มีอยู่หลากหลาย ดังนั้นหากอยากขอ ISO ก็ต้องศึกษาเสียก่อนว่าองค์กรของคุณเหมาะกับมาตรฐานข้อไหน เพื่อจะได้พัฒนาและเตรียมองค์กรให้พร้อมเข้าสู่มาตรฐานข้อนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เลือกผู้ตรวจประเมินมาตรฐาน

ในประเทศไทยมีผู้ตรวจประเมินมาตรฐาน ISO อยู่หลายแห่ง จึงควรเลือกผู้ตรวจประเมินที่ได้มาตรฐาน มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับจากองค์กรระดับสากล เพื่อสร้างความมั่นใจในผลการประเมินที่ได้รับนั่นเอง

3. จัดทำระบบการทำงานภายในองค์กรให้พร้อมกับการตรวจประเมิน

ก่อนจะได้รับการตรวจประเมิน สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมระบบต่าง ๆ ภายในองค์กรให้พร้อม ทั้งเรื่องการบริหารจัดการพนักงาน กระบวนการผลิต ประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ซึ่งอาจจัดทำด้วยตนเองหรือเลือกใช้บริการผู้ช่วยเตรียมระบบก็ได้

โดยเอกสารที่จำเป็นต่อการแสดงภาพรวมภายในองค์กรเพื่อการขอ ISO ได้แก่

  • วิสัยทัศน์ นโยบาย และวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
  • คู่มือประกันคุณภาพ
  • ระเบียบและคู่มือในการปฏิบัติงาน
  • วิธีการทำงาน
  • เอกสารจากภายนอกที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน
  • แบบฟอร์ม บันทึก และเอกสารสนับสนุนในการทำงาน

เมื่อ ISO คือคำตอบที่ใช่ของการสร้างมาตรฐานใหม่ให้องค์กร หากอยากเตรียมตัวขอ ISO อย่าลืมเลือกใช้ระบบจัดการเอกสารกับ WOLF เครื่องมือชิ้นสำคัญที่จะช่วยคุณควบคุมมาตรฐานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง เพื่อให้องค์กรดำเนินงานอย่างสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO และมีประสิทธิผลในการทำงานสูงสุด หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ marketing@techconsbiz.com หรือ 02-634-4409

ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม

📞 : 02-634-4409

Line Official : @Techconsbiz

Related