อยากมีโรงงานเป็นของตัวเอง ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

5 ตุลาคม 2020
อยากมีโรงงานเป็นของตัวเองต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

อยากมีโรงงานเป็นของตัวเอง ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

          ผู้บริหารหลายๆ คน อาจจะกำลังวางแผนถึงการมีโรงงานเป็นของบริษัทตัวเองหวังถึงผลลัพธ์ในการผลักดันธุรกิจให้ประสบความสำเร็จสูงสุดแต่ก็อาจจะคว้าน้ำเหลวได้หากปราศจากการคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในการมีโรงงานอย่างถี่ถ้วน ‘WOLF’ ขอแชร์เช็คลิสต์ต่อไปนี้ ให้เป็นแนวทางในการคำนึงถึงก่อนที่จะตัดสินใจมีโรงงานเป็นของตัวเอง

อยากมีโรงงานเป็นของตัวเองจำเป็นต่อธุรกิจหรือไม่

          – โรงงานจำเป็นต่อธุรกิจของเราหรือไม่?

.

          คำถามแรกสุดที่ต้องถาม เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดเนื่องจากการจะมีโรงงานเป็นของตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไม่ง่าย และใช้ทุนพอสมควร หากเราสร้างโรงงานแล้วได้ใช้ฟังก์ชันเพียงไม่กี่อย่าง อาจจะใช้แค่เก็บสต็อกสินค้าเท่านั้นการมีโรงงานก็อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ธุรกิจของเรา

อยากมีโรงงานเป็นของตัวเองคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

          – คุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่?

.

          ลองประเมินงบประมาณที่ต้องใช้ลงทุนกับการสร้างโรงงาน ทั้งค่าที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าซ่อมบำรุง ฯลฯกับผลกำไรที่จะได้รับ ว่าคุ้มค่าหรือไม่หากจะต้องให้เงินทุนมหาศาลไปกับการสร้างโรงงาน เพราะนอกจากทางเลือกในการสร้างโรงงานเอง ก็ยังสามารถใช้วิธีการเช่าโรงงานได้ซึ่งอาจจะเป็นวิธีที่ตอบโจทย์มากกว่าสำหรับบางธุรกิจ

อยากมีโรงงานเป็นของตัวเอง โรงงานประเภทไหน

          – เป็นโรงงานประเภทใด?

.

          หากเราตัดสินใจแล้วว่าเราจะมีการสร้างโรงงานของเราขึ้นมาจริงๆก็อาจจะต้องทำการศึกษาข้อมูลเชิงกฎหมายมากขึ้น ลำดับแรกคือดูว่าโรงงานของเรานั้นถูกบัญญัติไว้เป็นโรงงานประเภทใด เพื่อทำการยื่นขออนุญาตตามกระบวนการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้แบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

          * โรงงานประเภทที่ 1

          หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3)
          * โรงงานประเภทที่ 2

          หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต แต่จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีในทุกๆ ปี (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3 เช่นเดียวกัน)
          * โรงงานประเภทที่ 3

          หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้

          – อยู่บนทำเลที่ตั้งต้องห้ามหรือไม่?

.

          การจะก่อสร้างโรงงาน แน่นอนว่าจะต้องตั้งอยู่บนที่ดินผืนใดผืนหนึ่งซึ่งไม่ได้แปลว่าเราจะสร้างโรงงานขึ้นตรงไหนก็ได้เราจำเป็นต้องศึกษาและตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่า โรงงานเราไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นที่ต้องห้าม มิฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ตามมาในอนาคต จะเป็นค่าชดเชยจำนวนมาก และการรื้อถอนที่ไม่ง่ายเลย

          โดยรายละเอียดพอสังเขปของเงื่อนไขการก่อตั้งโรงงานบนพื้นที่ต้องห้าม มีรายละเอียดดังนี้

          * โรงงานทุกประเภท ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด หรือบ้านเพื่อพักอาศัย

          * โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

          * โรงงานประเภทที่ 3 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน และต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

อยากมีโรงงานเป็นของตัวเอง เลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่เชี่ยวชาญพอ

          – เลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่เชี่ยวชาญพอ

.

          ผู้รับเหมาก่อสร้างในแวดวงมีอยู่มากมาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถรับผิดชอบการดำเนินการก่อสร้างโรงงานได้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการก่อสร้างโรงงานโดยตรง อาจจะมีค่าจ้างที่ค่อนข้างสูง แต่คุ้มค่ากับคุณภาพของโรงงานในระยะยาวมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้และเพื่อลดความเสี่ยง ลดความกังวลที่จะตามมาในอนาคตได้

อยากมีโรงงานเป็นของตัวเอง ตรวจสอบอุปกรณ์ที่จำเป็น

          – เช็คอุปกรณ์ที่จำเป็น

.

          คีย์สำคัญอีกอย่างที่อยู่คู่กับโรงงานก็หนีไม่พ้นอุปกรณ์ เครื่องจักร และระบบต่างๆ ในโรงงานการวางแผนเพื่อเช็คว่าอุปกรณ์ใดจำเป็นในการผลิตบ้าง จะทำให้เราสามารถควบคุมงบประมาณได้ เนื่องจากอุปกรณ์ในโรงงานมีราคาที่สูง จึงต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าเป็นอย่างดีในส่วนของการวางระบบการผลิตในโรงงานให้เป็นอัตโนมัติก็เป็นทางเลือกที่ควรให้ความสำคัญเพราะจะช่วยในเรื่องความรวดเร็ว และสามารถตรวจสอบ แก้ไขได้ในเวลาอันสั้น

          นอกจากในแง่ของอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์แล้วซอฟต์แวร์บางตัวก็ขาดไม่ได้สำหรับโรงงานเลยเช่น หากโรงงานของคุณจะยื่นเข้าสู่มาตรฐาน ISO ก็ควรจะมองหาซอฟต์แวร์ที่ช่วยควบคุมดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรฐาน ISO ด้วยซึ่ง ‘WOLF ISO’ ก็เป็นซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยทำหน้าที่ให้กับหลายโรงงาน จนโรงงานกลายที่เป็นที่ยอมรับไปในวงกว้าง

อยากมีโรงงานเป็นของตัวเองไม่ลืมเรื่องระบบความปลอดภัย

          – ไม่ลืมเรื่องระบบความปลอดภัย

.

          อีกหนึ่งสิ่งที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด คือการวางระบบเรื่องความปลอดภัยพราะโรงงานจะเต็มไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรมากมายที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา เราจึงไม่ควรลืมเรื่องระบบความปลอดภัยในทุกด้าน เช่น การควบคุมอุณหภูมิ ความสว่าง การควบคุมการใช้สารเคมี อุปกรณ์หรือเครื่องแบบสำหรับพนักงาน ระบบแจ้งเตือนต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถหาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยในโรงงานมาช่วยดูแลในส่วนนี้ได้

          การมีโรงงานเป็นของตัวเองไม่ใช่คำตอบของทุกธุรกิจหากบางธุรกิจตกตะกอนดีแล้วว่าจำเป็นและคุ้มค่าในการมีโรงงานจริงๆ ก็ควรวางแผนอย่างถี่ถ้วน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้

          การมีโรงงานเป็นของตัวเองไม่ใช่คำตอบของทุกธุรกิจหากบางธุรกิจตกตะกอนดีแล้วว่าจำเป็นและคุ้มค่าในการมีโรงงานจริงๆ ก็ควรวางแผนอย่างถี่ถ้วน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้

: www.wolfiso.com

: (+66) 2 634 4409

✉️ : info@techconsbiz.com

Line@ : @techconsbiz

Related